top of page
Search

ตอนที่ 1 เรื่องของเงิน (ใช้ชีวิตในอังกฤษ : Living in the UK )




ใช้ชีวิตในอังกฤษ : Living in the UK

ตอนที่ 1 เรื่องของเงิน

เงินที่ใช้ใน UK หรือ สหราชอาณาจักร เป็นเงิน สกุล ที่คนไทย เรียกว่าเงินปอนด์ หรือ ชื่อภาษาอังกฤษ เต็มๆ ของเขาก็คือ “Great British Pound” หรือ “GBP” โดยใช้สัญลักษณ์ คือ “£”

ในหนึ่งปอนด์ (£) มี 100 เพนซ์ (p)

Royal Mint เป็นผู้ผลิตเหรียญใน UK ได้แก่ เหรียญ 1p, 2p, 5p, 10p, 20p, £1 และ £2









เวลาแลกเงินมาจากไทย ก็จะได้ธนบัตรแบบ 50 ปอนด์ ซะส่วนใหญ่ แต่เอาจริงๆ ที่นี่ธนบัตรแบบ 50 ปอนด์ แทบจะไม่มีคนใช้ในการซื้อของทั่วๆไปเลย ร้านบางร้าน ที่ไม่ใช่ห้าง ก็จะไม่ได้รับมันด้วยซ้ำไป ดังนั้น พยายามเอาแบบ 20 ปอนด์ มาใช้แทนค่ะ ดังนั้นบางทีอย่าสงสัยพอยื่นธนบัตร 50 ปอนด์ไปคนในร้านทำหน้างงๆ ไม่ค่อยเต็มใจรับ หรือต้องเช็คกันแบบเอาเป็นเอาตาย กลัวเป็นของไม่จริง มาดูวีดีโอ วิธีการเช็ค ธนบัตร 50 ปอนด์ กันดีกว่าค่ะ เผื่อแลกมาจะได้ดูว่ามันจริงรึเปล่า ก่อนนำไปใช้


ที่นี่เวลาใช้เงิน ก็มีคำแบบอังกฤษๆ หรือ แสลงเรียกเงินแบบต่างๆ กันค่ะ

เช่น

  • เงิน ( Money) อาจจะได้ยินกันบ้าง เช่น Bread, Dosh, Dough, Loot

  • เหรียญ 1p และ 2p สีก็จะเป็นสีทองแดง ก็จะเรียกกันว่า Copper

  • เหรียญ 5p,10p,50p ส่วนใหญ่เป็นสีเงิน ก็จะเรียกกันว่า Silver

  • เหรียญ 1 Pound / 2 Pound coins ก็จะเรียกกันว่า Bronze

  • บางครั้งก็จะเรียกเงิน 1 ปอนด์ ว่า ควิด (QUID) การออกเสียงเงินปอนด์ ให้อ่านว่า Pound หรือ พาวด์ ถ้าหลายปอนด์ ก็ใส่ S ไป ควิดก็เช่นกัน

  • 5 ปอนด์ ก็เรียก Fiver (ไฟว์เวอร์) หรือ ใน Cockney slang ในลอนดอน บางทีก็จะได้ยินคำว่า Lady Godiva (เลดี้ โกไดว่า)

  • 10 ปอนด์ ก็เรียก Tenner (เท็นเน่อร์)

  • 20 ปอนด์ เรียกกันว่า Score (สกอร์)

  • 25 ปอนด์ เรียกกันว่า Pony (โพนี่)

  • 50 ปอนด์ เรียกว่า Bullseye (บุลสอาย)

  • 100 ปอนด์ เรียกกันว่า A Ton ( อะ ทัน) หรือ บางคนก็เรียก Century (เซ็นทูรี่)

  • 500 ปอนด์ เรียกว่า Monkey (มังคี่) เหมือนคำว่าลิงนั่นเอง

  • 1000 ปอนด์ เรียกกันว่า A Grand (แกรนด์)


เปิดบัญชีธนาคาร

หลายคนที่มาที่อังกฤษ ที่จะมาอยู่ระยะยาว สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ ดูง่ายๆ ถ้าคุณมาอังกฤษ โดยได้รับวีซ่าในเล่ม เป็นเวลา 6 เดือน หรือน้อย กว่านั้น จะไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ ผู้ที่เข้ามาอยู่ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน มาทำงาน หรือแต่งงานมาอยู่ที่นี่จะต้องเป็นคนที่ได้รับวีซ่า ระยะยาว ซึ่งจะต้องมารับ BRP CARD (Biometric Residence Permits) บัตรสีชมพูหลังจากเข้ามาในประเทศ






  1. Identification ในที่นี้ คือพาสปอร์ตและ ใบ BRP Card

  2. Prove of Address คือบิลต่างๆ เช่น บิลค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ท ในกรณีนักเรียนให้ติดต่อโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ทางสถาบันจะออกจดหมายที่ยืนยันที่อยู่ใน UK ให้และก็สามารถนำใบนั้นไปเปิดบัญชีได้ บางมหาวิทยาลัยจะมีธนาคารอยู่ในมหาวิทยาลัยเลยซึ่งเปิดที่นั่นก็แสนจะง่ายดาย



บัตรเดบิตหรือแคชคาร์ด (หรือคนไทยเรียก บัตรเอทีเอ็ม)

ทุกคนจำเป็นที่จะต้องมีบัตรเดบิตหรือเอทีเอ็ม ทุกใบจะต้องใช้ พิน ( Personal Identification Number- PIN) ใช้ในการกดเงิน ใช้ในการซื้อของ ตามตู้กดเงิน ที่อังกฤษ เรียกว่า Cash Point จะกดได้ครั้งละ 300 ปอนด์ เท่านั้นต่อครั้ง และส่วนมากจะเป็นต่อวันด้วย ดังนั้นต้องมีการวางแผน ถ้าต้องใช้เงินเยอะ การเดินทางไปเบิกเงินที่ธนาคารส่วนใหญ่ต่อวันก็จะเบิกได้ไม่เกิน 1 พันปอนด์ ถ้าต้องใช้เงินสดเยอะ ต้องเช็คกับธนาคารก่อนทุกครั้งว่าสามารถเบิกได้วันละ กี่ปอนด์ ขึ้นกับบัญชีและขึ้นกับธนาคารด้วย

การใช้บัตรในร้านค้าต่างๆ ก็จะคล้ายๆที่ไทย แต่เราจะเป็นคนใส่บัตรไปในเครื่องเอง และ กดพิน ในการยืนยันตัวตนของเรา บัตรที่มาจากไทย ทุกใบ ยังต้องมีการเซ็นต์ อยู่ดังนั้นอาจจะใส่บัตรที่มีชิปไปและรอให้กระดาษออกมา แล้วเราก็เซ็นต์ โดยมีพนักงานมาช่วยเรา แต่ถ้าเราใช้บัตรที่นี่เราสามารถใช้ พวก Self Service ได้เลย


บัตรเดบิตแบบใหม่ๆ จะมีเป็นแบบที่เรียกว่า Contactless สำหรับการจ่ายที่ไม่เกิน 45 ปอนด์ ก็เอาบัตรไปจ่อตรงเครื่องได้เลย ไม่ต้องใส่พิน ไม่ต้องเซ็นต์ ง่ายที่สุด ถ้าบัตรที่มาจากไทย ที่มีสัญลักษณ์ contactless ก็สามารถใช้ได้เลยเช่นกันไม่เกิน 45 ปอนด์



การขึ้นรถบัสที่อังกฤษ ในบางเมือง เช่น London หรือ Oxford ก็สามารถที่จะใช้บัตรคอนแทคเลส แตะแทนการจ่ายเงินสดได้เลย



การโอนเงินในประเทศ สามารถทำได้ในธนาคารที่ตนเอง มีบัญชีอยู่โอนไปธนาคารไหนก็ได้ในประเทศ ไม่มีค่าธรรมเนียม ส่วนที่ง่ายที่สุดคือการใช้ Online Banking หรือ App ตอนเปิดบัญชี ถ้าเราจะใช้ Online Banking ธนาคารจะส่งเครื่องที่เรียกว่า Card Reader ให้ จะมีการสอนแบบง่ายๆ ที่เราจะใช้ และโอนเงินได้จากบัญชีเราไปที่บัญชี คนอื่นได้ทันที






น้องๆที่สนใจในการเรียนต่อในประเทศอังกฤษ สามารถติดตามสาระดีๆ และติดต่อสอบถามคอร์สเรียนได้ตามเวปไซด์ www.adviceforyou.org.uk และติดต่อเราได้ทางเฟสบุค www.facebook.com/adviceforyouthailand

Reference:

www.adviceforyou.co.th

3 views0 comments

Comments


bottom of page